เมนู

อรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในทัฏฐัพพสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุกฺขโค ทฏฺฐพฺพา ความว่า พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์
ด้วยอำนาจความเปลี่ยนแปลง. บทว่า สลฺลโต ความว่า ส่วนทุกข์พึง
เห็นว่าเป็นลูกศรด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องแทง. บทว่า อนิจฺจโต ความว่า
พึงเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยอาการมีแล้วก็ไม่มี. บทว่า
อทฺท คือ ได้เห็นแล้ว. บทว่า สนฺตํ คือ มีอยู่เป็นภาพ.
จบ อรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ 5

6. สัลลัตถสูตร



ว่าด้วยเวทนาเปรียบด้วยลูกศร



[369] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวย
สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับ
แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในชน 2 จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็น
ความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม
ทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อัน
ทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ
ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา 2 อย่าง คือเวทนาทางกายและ
เวทนาทางใจ.

[370] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิง
บุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ 2 อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร 2 อย่าง คือ ทางกายและทางใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ไ ด้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความ
งมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา 2 อย่าง คือ เวทนากางกายและเวทนาทางใจ
อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกข-
เวทนานั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เขาเป็น
ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา
นอกจากกามสุข และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะสุข-
เวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเขา
ไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง
เวทนาเท่านั้น ตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา
ย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุข-
เวทนานั้น ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกข์เวทนา
นั้น และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกข-
มสุขเวทนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า
เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์.

[371] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกข-
เวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวย
เวทนาทางใจ.
[372] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิง
บุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ 2 ผิดไป ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-
สาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ อนึ่ง
เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกข-
เวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เธอผู้
อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจาก
ทุกขเวทนา นอกจากกามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัย
เพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ
โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา
ย่อมไม่นอนเนื่อง ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย
สุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกข์

เวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย
อทุกขมสุขเวทนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้
เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน เป็นเครื่องกระทำ
ให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.
[373] อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล
เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับ
ปุถุชน ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิต
ของอริยสาวกนั้น ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็น
พหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่ ท่านย่อม
ไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์ อนึ่ง
เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้น
ไม่ยินดีและไม่ยินร้าย อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนิน
อันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้ ย่อมเป็น
ผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ.

จบ สัลลัตถสูตรที่ 6

อรรถกถาสัลลัตถสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในสัลลัตถสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตตฺร คือในชนสองจำพวกเหล่านั้น. บทว่า อนุเวธํ
วิชฺเฌยฺยุํ
ความว่า ยิงไปในระหว่างนิ้ว หรือในระหว่างนิ้วทั้งสอง อันเป็น
ส่วนที่ใกล้ปากแผลนั้นเท่านั้น. เวทนาก็เสียดแทงบุรุษผู้ถูกยิงอย่างนี้แล้ว
ย่อมมีกำลังกล้ากว่าเวทนาครั้งแรก. แม้โทมนัสเวทนา เมื่อเกิดขึ้นครั้งหลัง
ย่อมมีกำลังกล้ากว่าเวทนาครั้งแรกด้วยประการดังนี้แล. บทว่า ทุกฺขาย
เวทนาย นิสฺสรณํ
ความว่า สมาธิมรรคและผล เป็นเครื่องสลัดออก
แม้ทุกขเวทนา เขาย่อมไม่รู้เครื่องสลัดออกนั้น ย่อมรู้ว่ากามสุขเท่านั้น
เป็นเครื่องสลัดออก. บทว่า ตาสํ เวทนานํ ได้แก่ สุขทุกขเวทนาเหล่านั้น.
บทว่า สญฺญคตฺโต นํ เวทยติ ความว่า เขาเป็นผู้ประกอบด้วยกิเลส
ย่อมเสวยเวทนานั้น. ไม่ประกอบหาเสวยเวทนานั้นไม่. บทว่า สญฺญตฺโต
ทุกฺขสฺมา
ได้แก่ เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ อธิบายว่า
ประกอบด้วยทุกข์.
บทว่า สงฺขาตธมฺมสฺส ความว่า ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว คือผู้มี
ธรรมอันชั่งได้แล้ว. บทว่า พหุสฺสุตสฺส ความว่า เป็นพหูสูตในทาง
ปริยัติ เป็นพหูสูตในทางปฏิเวธ. บทว่า สมฺมา ปชานาติ ภวสฺส ปารคู
ความว่า ถึงแล้วซึ่งฝั่งแห่งภพคือนิพพาน ย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพานนั้นแล
โดยชอบ. อารัมมณานุสัย พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรแม้นี้. เกจิอาจารย์
กล่าวว่า ก็บรรดาพระอริยสาวก พระขีณาสพมีหน้าที่ ในอารัมมณานุสัยนี้.
แม้พระอนาคามี ก็ไม่ควรดังนี้.
จบ อรรถกถาสัลลัตถสูตรที่ 6